อุบลเมืองดอกบัวงาม แม่น้ำสองสี มีปลาแซบหลาย หาดทรายแก่งหิน ถิ่นไทยนักปราชญ์ ทวยราษฎร์ใฝ่ธรรม
งามล้ำเทียนพรรษา ผาแต้มก่อนประวัติศาสตร์ ฉลาดภูมิปัญญาท้องถิ่น ดินแดนอนุสาวรีย์คนดีศรีอุบล
        อุบลราชธานีเป็นจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ที่สามารถเห็นดวงอาทิตย์ขึ้นได้ก่อนพื้นที่อื่นๆ ของประเทศไทย เพราะตั้งอยู่ทางตะวันออกสุดของ
ประเทศ ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของเส้นเวลาหลักของประเทศ ที่เส้นแวง 105 องศาตะวันออก และมีความสำคัญในฐานะเป็นเมืองท่องเที่ยวที่เต็มไปด้วยเรื่องราวทาง
ประวัติศาสตร์ มีวัฒนธรรมและประเพณีดั้งเดิมที่ตกทอดรุ่นสู่รุ่นมาจากบรรพบุรุษตั้งแต่ยุคขอมโบราณที่ผสมผสานเข้ากับวัฒนธรรมไทยถิ่นอีสานปัจจุบันเกิดเป็น
เอกลักษณ์เฉพาะตัวที่น่าสนใจอุบลราชธานียังอุดมไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติมากมาย ทั้งป่าไม้ สัตว์ป่า พืชพรรณนานาชนิด แหล่งน้ำขนาดใหญ่น้อยหลายแห่ง
และภูมิทัศน์ที่งดงามแปลกตาโดดเด่น รวมทั้งมีโรงแรมที่พักมากมายและการคมนาคมสะดวกสบาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีสนามบิน ทำให้จังหวัดอุบลราชธานี
เป็นเมืองท่องเที่ยวที่น่าสนใจไม่แพ้จังหวัดอื่นๆ ของภูมิภาค ที่นักเดินทางไม่ควรพลาดมาเยี่ยมเยือน

        จังหวัดอุบลราชธานีมีเนื้อที่ประมาณ 16,113 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 10 ล้านไร่ เป็นจังหวัดที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 5 ของประเทศ ตั้งอยู่ในบริเวณแอ่ง
โคราช ลักษณะพื้นที่โดยทั่วไปเป็นที่ราบสูงลาดเอียงไปทางตะวันออก มีแม่น้ำมูลไหลผ่านกลางจังหวัดจากทิศตะวันตกมายังทิศตะวันออก มาบรรจบกับแม่น้ำชีแล้ว
ไหลลงสู่แม่น้ำโขงที่อำเภอโขงเจียม มีภูเขาสลับซับซ้อนทางตอนใต้ เทือกเขาสำคัญ คือ เทือกเขาบรรทัดและเทือกเขาพนมดงรักอุบลราชธานีเป็นเมืองใหญ่
ที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานกว่า 200 ปี ในอดีตบริเวณพื้นที่แถบนี้อยู่ภายใต้การปกครองของอาณาจักรเขมรหรือขอมโบราณ ต่อมาอาณาจักรขอมเสื่อมอำนาจไป
จนถึงสมัยกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระรามาธิบดีก็ได้ทรงรวบรวมดินแดนแถบนี้เข้าอยู่ภายใต้การปกครอง แต่ต่อมาชุมชนดังกล่าวก็เกิดการแตกแยก แบ่งเป็นฝักฝ่ายอยู่
เป็นเวลานับสิบปี จนกระทั่งสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้ทรงรวบรวมดินแดนแถบนี้เป็นอาณาจักรได้สำเร็จอีกครั้ง และได้สถาปนาอาณาจักรกรุงธนบุรีขึ้น
ตรงกับที่ท้าวคำผง (พระประทุมวรราชสุริยวงศ์) แห่งเมืองเวียงจันทน์ได้อพยพจากหนองบัวลำภูมาตั้งเมืองขึ้นใหม่ที่บริเวณดงอู่ผึ้งริมฝั่งแม่น้ำมูล บริเวณอำเภอ
ดอนมดแดงในปัจจุบัน และต่อมาได้เกิดอุทกภัยขึ้น จึงได้ย้ายชุมชนมาตั้งอยู่ที่บริเวณตัวจังหวัดในปัจจุบัน สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชโปรดเกล้าฯ
พระราชทานนามเมืองใหม่นี้ว่า “อุบลราชธานี” ขึ้นตรงต่อกรุงเทพมหานคร และให้ท้าวคำผงเป็นเจ้าเมืองคนแรก โดยพระราชทานบรรดาศักดิ์ให้เป็น “พระปทุมวงศา”
ต่อมาในปี พ.ศ. 2335 ได้เปลี่ยนชื่อเมืองเป็น “มณฑลอุบลราชธานี” เป็นศูนย์กลางการบริหารของมณฑลอีสาน และในปี พ.ศ. 2468 มณฑลอุบลราชธานีก็
ได้ถูกยุบโอนมาขึ้นกับมณฑลนครราชสีมา จนถึงปี พ.ศ. 2476 ได้มีการยกเลิกระบบมณฑล เมืองอุบลราชธานีแยกตัวออกมาตั้งเป็น “จังหวัดอุบลราชธานี”
เป็นจังหวัดที่ใหญ่ที่สุดของประเทศไทย ถึงปี พ.ศ. 2515 อำเภอยโสธรและอำเภอใกล้เคียงที่อยู่ในเขตปกครองของจังหวัดอุบลราชธานี ได้ถูกแบ่งออกไปตั้งเป็นจังหวัด
ยโสธร และต่อมาในปี พ.ศ. 2536 อุบลราชธานีได้ถูกแบ่งพื้นที่อีกครั้ง โดยแยกอำเภออำนาจเจริญและอำเภอใกล้เคียงออกไปตั้งเป็นเป็นจังหวัดอำนาจเจริญปัจจุบัน
จังหวัดอุบลราชธานีแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 20 อำเภอ 5 กิ่งอำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองอุบลราชธานี อำเภอวารินชำราบ อำเภอเดชอุดม อำเภอบุณฑริก
อำเภอนาจะหลวย อำเภอน้ำยืน อำเภอพิบูลมังสาหาร อำเภอโขงเจียม อำเภอศรีเมืองใหม่ อำเภอตระการพืชผล อำเภอเขมราฐ อำเภอม่วงสามสิบ อำเภอเขื่องใน
อำเภอกุดข้าวปุ้น อำเภอตาลสุม อำเภอโพธิ์ไทร อำเภอสำโรง อำเภอสิรินธร อำเภอดอนมดแดง อำเภอทุ่งศรีอุดม กิ่งอำเภอนาเยีย กิ่งอำเภอนาตาล กิ่งอำเภอเหล่าเสือ
โก้ก กิ่งอำเภอสว่างวีระวงศ์ และกิ่งอำเภอน้ำขุ่น

     
โปรโมทเว็บไซต์
 
อัพเดท!!! ที่เที่ยว ร้านอาหาร โรงแรม รีสอร์ท ทั่วไทย
เชียงราย
เชียงใหม่
ลำปาง
ลำพูน
แม่ฮ่องสอน
นครสวรรค์
น่าน 
พะเยา
เพชรบูรณ์
พิจิตร
พิษณุโลก
แพร่
สุโขทัย
อุทัยธานี
อุตรดิตถ์
อำนาจเจริญ
บุรีรัมย์
ชัยภูมิ
กาฬสินธุ์
ขอนแก่น
เลย
มหาสารคาม
มุกดาหาร
นครราชสีมา
นครพนม
หนองบัวลำภู
หนองคาย
ร้อยเอ็ด
สกลนคร
ศรีสะเกษ
สุรินทร์
อุบลราชธานี
อุดรธานี
ยโสธร
ฉะเชิงเทรา
ปราจีนบุรี
สระแก้ว
ชลบุรี
ระยอง
จันทบุรี
ตราด
กรุงเทพ ฯ
นนทบุรี
ปทุมธานี
นครนายก
พระนครศรีอยุธยา
ลพบุรี
สระบุรี
สิงห์บุรี
อ่างทอง
ชัยนาท
สมุทรปราการ
สมุทรสาคร
สมุทรสงคราม
นครปฐม
สุพรรณบุรี
ตาก
กาญจนบุรี
ราชบุรี
เพชรบุรี
ประจวบคีรีขันธ์ 
ชุมพร
ระนอง
สุราษฎร์ธานี
พังงา
ภูเก็ต
กระบี่
นครศรีธรรมราช
ตรัง
พัทลุง
สงขลา
สตูล
ปัตตานี
ยะลา
นราธิวาส