เมืองทองเนื้อเก้า มะพร้าวสับปะรด สวยสด หาด เขา ถ้ำ งามล้ำน้ำใจ
ประจวบคีรีขันธ์คือจังหวัดหนึ่งในภาคกลาง ตามการแบ่งเขตการปกครองของกระทรวงมหาดไทย โดยเป็นจังหวัดสุดท้ายของภาคกลาง ต่อกับจังหวัดชุมพร
ของภาคใต้ จึงกล่าวได้ว่า ประจวบคีรีขันธ์คือประตูสู่ภาคใต้อย่างแท้จริงจังหวัดที่มีรูปร่างยาวเรียว นี้เต็มไปด้วยแหล่งท่องเที่ยว โดยเฉพาะทะเล ประจวบคีรีขันธ์
ได้ชื่อว่าเป็นสถานที่ตากอากาศมาตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จวบจนถึงทุกวันนี้ ชายทะเลหลายแห่งในประจวบคีรีขันธ์ก็ยังเป็นที่นิยม
ของนักท่องเที่ยวไม่ เสื่อมคลาย
จังหวัดประจวบคีรีขันธ์มีเนื้อที่ 6,367,620 ตารางกิโลเมตร ลักษณะพื้นที่แคบยาวเป็นคาบสมุทรลงไปทางภาคใต้ โดยมีแผ่นดินส่วนที่แคบที่สุดจากชายแดนไทย
ไปจนถึงสหภาพพม่า ระยะทาง 11 กิโลเมตร อยู่ที่บริเวณด่านสิงขร ตำบลคลองวาฬ อำเภอเมืองฯ และมีความยาวจากเหนือจดใต้ถึง 212 กิโลเมตรเลยทีเดียว
ความเป็นมาของประจวบคีรีขันธ์เท่าที่มีหลักฐานทางประวัติ ศาสตร์ พบว่าพื้นที่นี้เคยเป็นที่ตั้งของเมืองนารัง ในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี จนกระทั่งกรุงแตกใน
ครั้งที่ 2เมืองนารังจึงกลายเป็นเมืองร้างครั้นถึงสมัยพระบาท-สมเด็จพระพุทธเลิศหล้า นภาลัย รัชกาลที่ 2 ของราชวงศ์จักรี พระองค์ทรงตั้งเมืองขึ้นใหม่ที่ปากคลองอีรม
และพระราชทานนามว่าเมืองบางนางรม จนกระทั่งถึงรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงรวมเมืองบางนางรม เมืองกุย และเมืองคลองวาฬ
เข้าไว้ด้วยกัน พระราชทานนามว่าเมืองประจวบคีรีขันธ์ แปลว่าเมืองที่มีภูเขาเป็นหมู่ๆ เพื่อให้คล้องกับชื่อของเกาะกง คือ “เมืองประจันตคีรีเขต” โดยมีที่ว่าการเมืองอยู่
ที่เมืองกุยกระทั่งถึงรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุล จอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงจัดการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาล เมืองประจวบคีรีขันธ์ถูกรวมเป็นส่วนหนึ่งของเมือง
เพชรบุรี โดยมีฐานะเป็นอำเภอ และใน พ.ศ. 2441 ก็มีการย้ายที่ว่าการเมืองไปอยู่ที่เกาะหลัก หรืออ่าวประจวบ ซึ่งเป็นที่ตั้งของเมืองประจวบคีรีขันธ์ในปัจจุบันจังหวัด
ประจวบคีรีขันธ์ แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 8 อำเภอ คือ อำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ อำเภอหัวหิน อำเภอปราณบุรี อำเภอกุยบุรี อำเภอทับสะแก อำเภอบางสะพาน
อำเภอบางสะพานน้อย และอำเภอสามร้อยยอด |