ถิ่นบัวหลวง เมืองรวงข้าว เชื้อชาวมอญ นครธรรมะ พระตำหนักรวมใจ สดใสเจ้าพระยา ก้าวหน้าอุตสาหกรรม
     
       ปทุมธานีเป็นหนึ่งในจังหวัดปริมณฑลที่มีความเจริญในด้านต่างๆ มาก เป็นเมืองศูนย์กลางทางการศึกษา วิจัย และพัฒนาเทคโนโลยีของภูมิภาค มีมหาวิทยาลัยและ
สถานศึกษาต่างๆ อยู่เป็นจำนวนมาก ทั้งยังอุดมสมบูรณ์ไปด้วยมรดกทางศิลปวัฒนธรรมและเอกลักษณ์อื่นๆ โดยเฉพาะวัฒนธรรมของชาวมอญ ที่ตกทอดรุ่นสู่รุ่นมา
เป็นเวลาหลายชั่วอายุคน อันเป็นสิ่งที่น่าภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่งและด้วยทำเลที่ตั้งที่อยู่ใกล้กรุงเทพมหานคร มีการคมนาคมสะดวก จังหวัดปทุมธานีจึงเป็นอีกหนึ่ง
เมืองท่องเที่ยวทางเลือกของนักท่องเที่ยวในปัจจุบัน

       บริเวณที่เป็นที่ตั้งของจังหวัดปทุมธานีในปัจจุบันนี้ เคยมีชุมชนตั้งถิ่นฐานอยู่อาศัยมาแล้วเป็นเวลากว่า 300 ปี นับตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
แห่งกรุงศรีอยุธยา ในปี พ.ศ. 2202 ได้มีครอบครัวชาวมอญจากเมืองเมาะตะมะอพยพหนีภัยศึกสงครามกับพม่า เข้ามาขอพึ่งพระบรมโพธิสมภาร สมเด็จพระนารายณ์
มหาราชทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ชาวมอญดังกล่าวไปตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บ้านสามโคก ชุมชนสามโคกจึงได้พัฒนาขึ้นมาตามลำดับนับจากนั้นต่อมาในแผ่นดิน
สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชแห่งกรุงธนบุรี ก็ได้มีชาวมอญอพยพหนีพม่าเข้ามาอีก จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ไปอาศัยอยู่ร่วมกับชุมชนชาวมอญที่สามโคก
เป็นชุมชนชาวมอญที่มีขนาดใหญ่ขึ้นกระทั่งในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ มีกลุ่มชาวมอญจากเมือง
เมาะตะมะอพยพเข้าสู่ประเทศไทยเป็นจำนวนมากอีกครั้งหนึ่ง พระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ชาวมอญบางส่วนตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บ้านสามโคกอีกเช่นเดียวกัน
ชุมชนบ้านสามโคกจึงเติบโตขยายขนาดขึ้นเรื่อยๆ จนกลายเป็นเมืองสามโคกในเวลาต่อมาในปี พ.ศ. 2358 พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยได้เสด็จประพาส
เมืองสามโคก และประทับที่พลับพลาริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งซ้าย เยื้องกับเมืองสามโคก ชาวมอญจำนวนมากที่ซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณได้พากันนำดอกบัว
ขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายราชสักการะ จึงพระราชทานนามเมืองสามโคกใหม่ว่า "เมืองประทุมธานี" อันมีความหมายว่า “เมืองแห่งดอกบัว” นั่นเองต่อมาในปี พ.ศ. 2461 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 โปรดให้ใช้คำว่า "จังหวัด" แทน "เมือง" และให้เปลี่ยนการเขียนชื่อจังหวัด "ประทุมธานี" เป็น "ปทุมธานี"
และปี พ.ศ. 2475 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ก็ได้โปรดให้ยุบจังหวัดธัญบุรีลง กลายเป็นอำเภอหนึ่งที่ขึ้นกับจังหวัดปทุมธานี
นับแต่นั้นมาจนถึงปัจจุบันจังหวัดปทุมธานีแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 7 อำเภอ เช่น อำเภอเมืองปทุมธานี อำเภอคลองหลวง อำเภอธัญบุรี อำเภอลาดหลุมแก้ว
อำเภอลำลูกกา ฯลฯ

โปรโมทเว็บไซต์
 
อัพเดท!!! ที่เที่ยว ร้านอาหาร โรงแรม รีสอร์ท ทั่วไทย
เชียงราย
เชียงใหม่
ลำปาง
ลำพูน
แม่ฮ่องสอน
นครสวรรค์
น่าน 
พะเยา
เพชรบูรณ์
พิจิตร
พิษณุโลก
แพร่
สุโขทัย
อุทัยธานี
อุตรดิตถ์
อำนาจเจริญ
บุรีรัมย์
ชัยภูมิ
กาฬสินธุ์
ขอนแก่น
เลย
มหาสารคาม
มุกดาหาร
นครราชสีมา
นครพนม
หนองบัวลำภู
หนองคาย
ร้อยเอ็ด
สกลนคร
ศรีสะเกษ
สุรินทร์
อุบลราชธานี
อุดรธานี
ยโสธร
ฉะเชิงเทรา
ปราจีนบุรี
สระแก้ว
ชลบุรี
ระยอง
จันทบุรี
ตราด
กรุงเทพ ฯ
นนทบุรี
ปทุมธานี
นครนายก
พระนครศรีอยุธยา
ลพบุรี
สระบุรี
สิงห์บุรี
อ่างทอง
ชัยนาท
สมุทรปราการ
สมุทรสาคร
สมุทรสงคราม
นครปฐม
สุพรรณบุรี
ตาก
กาญจนบุรี
ราชบุรี
เพชรบุรี
ประจวบคีรีขันธ์ 
ชุมพร
ระนอง
สุราษฎร์ธานี
พังงา
ภูเก็ต
กระบี่
นครศรีธรรมราช
ตรัง
พัทลุง
สงขลา
สตูล
ปัตตานี
ยะลา
นราธิวาส