วังนารายณ์คู่บ้านศาลพระกาฬคู่เมืองปรางค์สามยอดลือเลื่อง
เมืองแห่ง ดินสอพองเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์เกริกก้อง แผ่นดินทองสมเด็จพระนารายณ์
     
       ลพบุรีคือเมืองที่มีประวัติศาสตร์มายาวนาน ผ่านความรุ่งเรืองมาแล้วหลายครั้ง เคยเป็นราชธานีแห่งที่ 2 ครั้งสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช พรั่งพร้อมด้วย
  วิทยาการทันสมัย ถ้าจะบอกว่าลพบุรีรุ่งเรืองที่สุดในยุคนั้นก็ไม่ผิดนักปัจจุบันลพบุรียังคงมีเสน่ห์เป็นที่รู้จักของคนทั่วโลก จังหวัดนี้เต็มไปด้วยความหลากหลาย
  ไม่ว่าจะเป็นประวัติศาสตร์ โบราณสถานอันงดงาม ทรงคุณค่า เรื่องราวที่น่าสนใจ ธรรมชาติสวยงามแปลกตา ทุ่งทานตะวันอันยิ่งใหญ่ไม่มีใครเหมือน เขื่อนป่า
  สักชลสิทธิ์ ฯลฯ สิ่งเหล่านี้ช่วยบอกเรื่องราวของความมีเสน่ห์ที่ทำให้ใครๆ อยากไปเยือนลพบุรี

       จังหวัดลพบุรีมีเนื้อที่ประมาณ 3,874,846 ล้านไร่ หรือ 6,641.859 ตารางกิโลเมตร ตั้งอยู่ทางฝั่งซ้ายของแม่น้ำลพบุรี โดยสภาพภูมิประเทศเป็นที่ราบสลับ
  เนินเขาประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์ และพื้นที่ราบลุ่มประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์ลพบุรีเป็นเมืองสำคัญเก่าแก่เมืองหนึ่งตั้งแต่สมัยทวารวดี (พุทธศตวรรษที่ 11-16)
  เคยอยู่ใต้อำนาจมอญและขอม จนกระทั่งในตอนต้นของพุทธศตวรรษที่ 19 คนไทยจึงเริ่มมีอำนาจขึ้นในดินแดนแถบนี้ในรัชสมัยของพระเจ้าอู่ทอง ปฐมกษัตริย์
  แห่งกรุงศรีอยุธยา ลพบุรีมีฐานะเป็นเมืองลูกหลวง กล่าวคือ พระเจ้าอู่ทองได้โปรดให้พระราเมศวร ราชโอรสองค์ใหญ่เสด็จมาครองเมืองลพบุรีเมื่อ พ.ศ. 1893
  พระราเมศวรโปรดให้สร้างป้อม ขุดคู และสร้างกำแพงเมืองอย่างมั่นคง เมื่อพระเจ้าอู่ทองสวรรคตใน พ.ศ. 1912 พระราเมศวรต้องถวายราชบัลลังก์ให้แก่พระปิตุลา|
  ของพระองค์ ซึ่งได้ขึ้นครองราชย์ พระนามว่าพระบรมราชาธิราชที่ 1 ส่วนพระราเมศวรยังคงครองเมืองลพบุรีสืบต่อไปจนถึง พ.ศ. 1931 เมื่อสมเด็จพระบรมราชาธิ
  ราชที่ 1 สวรรคต พระราเมศวรจึงเสด็จขึ้นครองราชย์ ณ กรุงศรีอยุธยาอีกครั้งหลังจากนั้นมาเมืองลพบุรีได้ลดความสำคัญลงไป จนกระทั่งมาถึงรัชสมัยสมเด็จ
  พระนารายณ์มหาราช (พ.ศ. 2199-2231) ลพบุรีได้รับการทำนุบำรุงครั้งใหญ่ สืบเนื่องมาจากการคุกคามของชนชาติฮอลันดาที่ติดต่อค้าขายกับไทย
  ทำให้สมเด็จพระนารายณ์ทรงเห็นว่ากรุงศรีอยุธยานั้นไม่สู้ปลอดภัยจากการปิดล้อมระดมยิงของข้าศึกหากเกิดสงคราม จึงได้ทรงสร้างเมืองลพบุรีเป็นราชธานีที่
  สองขึ้น เพราะลพบุรีมีลักษณะทางยุทธศาสตร์เหมาะสมในการสร้างเมืองลพบุรีขึ้นใหม่นั้น สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงได้รับความช่วยเหลือจากช่าง
  ชาวฝรั่งเศสและอิตาเลียน และได้สร้างพระราชวังและป้อมปราการเป็นแนวป้องกันอย่างแข็งแรง หลังจากนั้น สมเด็จพระนารายณ์มหาราชก็ได้ประทับอยู่ที่
  ลพบุรีเป็นส่วนใหญ่ สิ้นรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราชแล้ว ลพบุรีก็หมดความสำคัญลง สมเด็จพระเพทราชาได้ทรงย้ายหน่วยราชการทั้งหมดกลับกรุงศรีอยุธยา   ในรัชกาลต่อๆ มาก็ไม่ได้เสด็จมาประทับที่เมืองนี้อีกจนกระทั่งถึงสมัยของรัชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ใน พ.ศ. 2406 โปรดให้บูรณะเมืองลพบุรีทั้งหมด
  ซ่อมกำแพง ป้อม และประตูพระราชวังที่ชำรุดทรุดโทรม และสร้างพระที่นั่งพิมานมงกุฎขึ้นในพระราชวังเป็นที่ประทับ และพระราชทานนามว่า "พระนารายณ์ราชนิเวศน์"   ลพบุรีจึงแปรสภาพเป็นเมืองสำคัญอีกวาระหนึ่งภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ลพบุรีได้รับการทำนุบำรุงอีกครั้งหนึ่งในสมัยรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม
  ซึ่งได้สร้างเมืองลพบุรีใหม่ให้เป็นเมืองทหารอยู่ทางด้านทิศตะวันออกของทางรถไฟ แยกจากตัวเมืองเดิม มีอาณาเขตกว้างขวาง ส่วนเมืองเก่านั้นอยู่ทางด้านทิศ
  ตะวันตกของทางรถไฟ เมืองลพบุรีจึงเป็นศูนย์กลางสำคัญทางยุทธศาสตร์เมืองหนึ่งจังหวัดลพบุรีแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 11 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองลพบุรี
  อำเภอโคกสำโรง อำเภอบ้านหมี่ อำเภอชัยบาดาล อำเภอท่าวุ้ง อำเภอพัฒนานิคม อำเภอท่าหลวง อำเภอสระโบสถ์ อำเภอโคกเจริญ อำเภอลำสนธิ
  และอำเภอหนองม่วง

โปรโมทเว็บไซต์
 
อัพเดท!!! ที่เที่ยว ร้านอาหาร โรงแรม รีสอร์ท ทั่วไทย
เชียงราย
เชียงใหม่
ลำปาง
ลำพูน
แม่ฮ่องสอน
นครสวรรค์
น่าน 
พะเยา
เพชรบูรณ์
พิจิตร
พิษณุโลก
แพร่
สุโขทัย
อุทัยธานี
อุตรดิตถ์
อำนาจเจริญ
บุรีรัมย์
ชัยภูมิ
กาฬสินธุ์
ขอนแก่น
เลย
มหาสารคาม
มุกดาหาร
นครราชสีมา
นครพนม
หนองบัวลำภู
หนองคาย
ร้อยเอ็ด
สกลนคร
ศรีสะเกษ
สุรินทร์
อุบลราชธานี
อุดรธานี
ยโสธร
ฉะเชิงเทรา
ปราจีนบุรี
สระแก้ว
ชลบุรี
ระยอง
จันทบุรี
ตราด
กรุงเทพ ฯ
นนทบุรี
ปทุมธานี
นครนายก
พระนครศรีอยุธยา
ลพบุรี
สระบุรี
สิงห์บุรี
อ่างทอง
ชัยนาท
สมุทรปราการ
สมุทรสาคร
สมุทรสงคราม
นครปฐม
สุพรรณบุรี
ตาก
กาญจนบุรี
ราชบุรี
เพชรบุรี
ประจวบคีรีขันธ์ 
ชุมพร
ระนอง
สุราษฎร์ธานี
พังงา
ภูเก็ต
กระบี่
นครศรีธรรมราช
ตรัง
พัทลุง
สงขลา
สตูล
ปัตตานี
ยะลา
นราธิวาส