พระธาตุขามแก่น เสียงแคนดอกคูน ศูนย์รวมผ้าไหม ร่วมใจผูกเสี่ยว
เที่ยวขอนแก่นนครใหญ่ ไดโนเสาร์สิรินธรเน่ สุดเท่เหรียญทองแรกมวยโอลิมปิก

      จังหวัดขอนแก่นเป็นจังหวัดขนาดใหญ่ที่มีประชากรอาศัยอยู่หนาแน่นอีกจังหวัดหนึ่งของภูมิภาค นอกจากจะมีทำเลที่ตั้งทางภูมิศาสตร์อยู่ในบริเวณศูนย์กลาง
 ของภาคอีสานแล้ว ยังเป็นจังหวัดศูนย์กลางทางการศึกษาและเทคโนโลยีของภูมิภาค เนื่องจากเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยขอนแก่น และมีระบบสาธารณูปโภค
 และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ภายในอำเภอเมืองครบครัน ทั้งที่พักหลายระดับและบริการต่างๆ จำนวนมาก มีทรัพยากรทั้งทางธรรมชาติ ประวัติศาสตร์
 และด้านอื่นๆ หลากหลายรูปแบบ และที่สำคัญคือเป็นที่ตั้งของสนามบินทั้งหมดนั้นล้วนเป็นปัจจัยที่ส่งเสริมศักยภาพทางการท่องเที่ยวของจังหวัดได้เป็นอย่างดี
 จึงทำให้ขอนแก่นในปัจจุบันเป็นเมืองที่มีความสำคัญในฐานะเมืองท่องเที่ยวอีกแห่งหนึ่งของประเทศไทย
      จังหวัดขอนแก่นมีเนื้อที่ประมาณ 10,885 ตารางกิโลเมตร หรือ 6,803,125 ไร่ เป็นจังหวัดที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 15 ของประเทศ มีพื้นที่อยู่ในเขตของลุ่มน้ำ
 หลัก 2 ลุ่มน้ำ คือ ลุ่มน้ำมูลและลุ่มน้ำชี ลักษณะภูมิประเทศเป็นพื้นที่ภูเขาสูงทางทิศตะวันตกในเขตของเขาภูกระดึงและเทือกเขาเพชรบูรณ์ ส่วนทางทิศตะวันออก
 และทิศตะวันออกเฉียงใต้มีลักษณะสูงต่ำสลับกันเป็นลูกคลื่นลาดเทไปทางทิศตะวันออกและทิศใต้ของจังหวัด พื้นที่สูงกว่าระดับน้ำทะเลปานกลาง 100-200 เมตร
 มีแม่น้ำสายสำคัญ คือ แม่น้ำชีและแม่น้ำพองจังหวัดขอนแก่นนั้น แม้เพิ่งเริ่มก่อตั้งเป็นเมืองในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1
 เพียง 200 กว่าปีที่ผ่านมา แต่แท้จริงแล้วดินแดนบริเวณนี้มีประวัติศาสตร์อันยาวนานมาก จากหลักฐานการสำรวจพบเครื่องมือเครื่องใช้อายุเก่าแก่และชุมชนเมือง
 โบราณสมัยก่อนประวัติศาสตร์ในพื้นที่ต่างๆ ของจังหวัด ได้พิสูจน์ให้เห็นว่าอาณาเขตบริเวณจังหวัดขอนแก่นในปัจจุบันนี้ เป็นแหล่งอารยธรรมและดินแดน
 แห่งวัฒนธรรมที่สั่งสมมาตั้งแต่สมัยดึกดำบรรพ์ มีความเจริญรุ่งเรืองมาก่อนสมัยพุทธกาลหลายพันปีสันนิษฐานว่าบริเวณยอดเขาภูเวียงเป็นเมืองที่มีชุมชนอาศัยอยู่
 มาหลายยุคหลายสมัย ตั้งแต่ก่อนกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี เนื่องจากพบเมืองโบราณหลายแห่ง โดยเฉพาะในเขตอำเภอน้ำพอง พบซากเมืองโบราณขนาด
 ใหญ่ที่สุดในภาคอีสาน และใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทย (มีขนาดใหญ่เป็นรองเพียงเมืองนครชัยศรีเท่านั้น) ต่อมาในสมัยกรุงศรีอยุธยาและกรุงธนบุรี
 เมืองภูเวียงมีฐานะเป็นเมืองหน้าด่านของนครเวียงจันทน์ ตั้งอยู่บนเส้นทางการคมนาคมระหว่างนครเวียงจันทน์กับกรุงศรีอยุธยาและกรุงธนบุรี ในขณะนั้น
 อิทธิพลของอาณาจักรขอมได้เสื่อมลง ประกอบกับชุมชนเมืองต่างๆ ทางภาคอีสานได้รับผลกระทบจากภัยสงครามและภัยอื่นๆ จนผู้คนส่วนมากต้องอพยพหนี
 ภัยและละทิ้งบ้านเมืองไป เมืองในแถบนี้หลายเมืองจึงกลายสภาพเป็นเมืองร้างในสมัยรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1
 โปรดเกล้าฯ ให้ยกบ้านบึงบอนขึ้นเป็น “เมืองขอนแก่น” ในปี พ.ศ. 2340 หลังจากนั้นเมืองขอนแก่นได้โยกย้ายที่ตั้งไปมาอยู่หลายครั้งภายในบริเวณพื้นที่ใกล้เคียง
 จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2451 มีการย้ายศาลากลางเมืองขอนแก่นมาตั้งที่บ้านพระลับ ตำบลในเมือง อำเภอเมืองขอนแก่น (ซึ่งก็คือศาลากลางหลังเก่าในปัจจุบัน)
 และเปลี่ยนตำแหน่งข้าหลวงประจำบริเวณเป็นผู้ว่าราชการเมืองต่อมาในปี พ.ศ. 2459 มีการเปลี่ยนคำเรียก “เมือง” เป็น “จังหวัด” และในปี พ.ศ. 2507
 มีการสร้างศาลากลางจังหวัดหลังใหม่ขึ้นที่สนามบินเก่า อยู่ห่างจากที่เดิมประมาณ 2 กิโลเมตร ซึ่งปัจจุบันเรียกว่า "ศูนย์ราชการ" และใช้มาจนถึงปัจจุบันจังหวัด
 ขอนแก่นแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 20 อำเภอ 5 กิ่งอำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองขอนแก่น อำเภอบ้านฝาง อำเภอพระยืน อำเภอหนองเรือ อำเภอชุมแพ อำเภอสีชมพู
 อำเภอน้ำพอง อำเภออุบลรัตน์ อำเภอกระนวน อำเภอบ้านไผ่ อำเภอเปือยน้อย อำเภอพล อำเภอแวงใหญ่ อำเภอแวงน้อย อำเภอหนองสองห้อง อำเภอภูเวียง
 อำเภอมัญจาคีรี อำเภอชนบท อำเภอเขาสวนกวาง อำเภอภูผาม่าน กิ่งอำเภอซำสูง กิ่งอำเภอโคกโพธิ์ไชย กิ่งอำเภอหนองนาคำ กิ่งอำเภอบ้านแฮด และกิ่งอำเภอ
 โนนศิลา

     
     
     
โปรโมทเว็บไซต์
 
อัพเดท!!! ที่เที่ยว ร้านอาหาร โรงแรม รีสอร์ท ทั่วไทย
เชียงราย
เชียงใหม่
ลำปาง
ลำพูน
แม่ฮ่องสอน
นครสวรรค์
น่าน 
พะเยา
เพชรบูรณ์
พิจิตร
พิษณุโลก
แพร่
สุโขทัย
อุทัยธานี
อุตรดิตถ์
อำนาจเจริญ
บุรีรัมย์
ชัยภูมิ
กาฬสินธุ์
ขอนแก่น
เลย
มหาสารคาม
มุกดาหาร
นครราชสีมา
นครพนม
หนองบัวลำภู
หนองคาย
ร้อยเอ็ด
สกลนคร
ศรีสะเกษ
สุรินทร์
อุบลราชธานี
อุดรธานี
ยโสธร
ฉะเชิงเทรา
ปราจีนบุรี
สระแก้ว
ชลบุรี
ระยอง
จันทบุรี
ตราด
กรุงเทพ ฯ
นนทบุรี
ปทุมธานี
นครนายก
พระนครศรีอยุธยา
ลพบุรี
สระบุรี
สิงห์บุรี
อ่างทอง
ชัยนาท
สมุทรปราการ
สมุทรสาคร
สมุทรสงคราม
นครปฐม
สุพรรณบุรี
ตาก
กาญจนบุรี
ราชบุรี
เพชรบุรี
ประจวบคีรีขันธ์ 
ชุมพร
ระนอง
สุราษฎร์ธานี
พังงา
ภูเก็ต
กระบี่
นครศรีธรรมราช
ตรัง
พัทลุง
สงขลา
สตูล
ปัตตานี
ยะลา
นราธิวาส