แม่น้ำบางปะกงแหล่งชีวิต พระศักดิ์สิทธิ์หลวงพ่อโสธร พระยาศรีสุนทรปราชญ์ภาษาไทย อ่างฤาไนป่าสมบูรณ์
     
              ฉะเชิงเทรา หรือที่หลายคนมักเรียกว่าเมืองแปดริ้ว คือจังหวัดใกล้กรุงที่ยังดกดื่นร่มรื่นด้วยสวนผลไม้ โดยเฉพาะมะม่วงพันธุ์ดี นอกจากนี้ยังโดดเด่นด้วย
   การเป็นเมืองเก่าแก่ริมน้ำบางปะกง ซึ่งมีวัดหลวงพ่อโสธร หรือวัดโสธรวรารามวรวิหาร เป็นศูนย์รวมจิตใจของประชาชนแหล่งธรรมชาติในฉะเชิงเทรานั้น
   นับว่าอุดมด้วยสรรพชีวิตไม่น้อยหน้าใคร ผืนป่าสำคัญของที่นี่คือเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไน ซึ่งเป็นแหล่งอาศัยสุดท้ายของจระเข้น้ำจืดในเมืองไทย
   ส่วนในแม่น้ำบางปะกง ช่วงปากอ่าว ก็เป็นแหล่งชมโลมาหลายสายพันธุ์ที่ว่ายเวียนเข้ามาทุกปีในช่วงเดือนพฤศจิกายน-มกราคม ด้วยเหตุนี้ ฉะเชิงเทราซึ่งอยู่ห่าง
   จากกรุงเทพฯ ไม่ถึง 100 กิโลเมตร จึงเป็นอีกจังหวัดที่น่าเที่ยว น่าชมเพราะที่นี่ยังมีของดีซุกซ่อนอยู่มากมายชนิดที่หลายคนก็คาดไม่ถึงฉะเชิงเทราเป็น
   จังหวัดหนึ่งในภาคกลาง มีพื้นที่ประมาณ 5,351 ตาราง-กิโลเมตร เป็นดินแดนเก่าแก่ซึ่งไม่ปรากฏหลักฐานชัดเจนว่าถือกำเนิดขึ้นเมื่อไร แต่จากการสำรวจ
   และขุดค้นตามแหล่งอารยธรรมสำคัญโดยนักโบราณคดี ทำให้รู้ว่าพื้นที่นี้เคยเป็นที่อยู่ของมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ในช่วงหลายพันปีที่ผ่านมา สันนิษฐานว่า
   ในยุคนั้น ฉะเชิงเทราเป็นดินแดนสำคัญแห่งหนึ่งทางด้านชายฝั่งทะเลตะวันตะวันออกชื่อฉะเชิงเทราปรากฏเป็นครั้งแรกในพระราชพงศาวดารสมัยกรุง
   ศรีอยุธยา โดยเป็นเมืองเก่าแก่ตั้งแต่รัชสมัยของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ มีฐานะเป็นเมืองจัตวา หรือหัวเมืองชั้นใน จนถึงรัชสมัยของ
   สมเด็จพระนเรศวรมหาราชพระองค์ทรงใช้ฉะเชิงเทราเป็นที่รวบรวมไพร่พล นอกจากนี้ยังทรงใช้เป็นเมืองหน้าด่านอีกด้วยครั้นล่วงมาถึงสมัยรัตนโกสินทร์
   ฉะเชิงเทราก็เป็นเมืองที่ขึ้นอยู่ในสังกัดกรมพระกลาโหม และย้ายมาอยู่ในสังกัดกรมมหาดไทย

              จนกระทั่งถึงรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีการเปลี่ยนแปลงระบบการปกครองแผ่นดิน ฉะเชิงเทราจึงเปลี่ยนฐานะเป็นเมือง
   เมืองหนึ่งในมณฑลปราจีนบุรี ร่วมกับเมืองนครนายก พนมสารคาม พนัสนิคม ชลบุรี และบางละมุง จนถึง พ.ศ. 2459 ก็ได้ยกรับการฐานะขึ้นเป็นจังหวัด
   จากยุคก่อนประวัติศาสตร์ล่วงเลยมาจนถึงทุกวันนี้ ฉะเชิงเทรานับว่าเป็นดินแดนแห่งการเพาะปลูก เพราะมีดินตะกอนอันสมบูรณ์ด้วยแร่ธาตุ รวมทั้งอุดม
   ด้วยแหล่งน้ำ โดยมีแม่น้ำบางปะกงเป็นดั่งเส้นเลือดใหญ่ของจังหวัด ชาวบ้านส่วนใหญ่ตั้งบ้านเรือนอยู่ริมแม่น้ำและริมลำคลองสาขาย่อย โดยประกอบอาชีพ
   เกษตรกรรมเป็นส่วนใหญ่สำหรับชื่อ“ฉะเชิงเทรา” นั้น สันนิษฐานว่าเพี้ยนมาจากภาษาเขมร ซึ่งเคยมีอำนาจการปกครองในพื้นที่นี้ในช่วงอาณาจักรลพบุรี
   โดยมาจากคำว่า “สตรึงเตรา” แปลว่า “คลองลึก” แต่ก็มีข้อสันนิษฐานอื่นว่า น่าจะมาจากชื่อเมือง “แสงเซรา” หรือ “แซงเซา”ที่สมเด็จพระบรมราชาธิราช
   แห่งอาณาจักรอยุธยา เสด็จไปตีเมืองได้ตามที่ปรากฏในพระราชพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐส่วนชื่อ “แปดริ้ว” คาดว่าน่าจะมาจากขนาดตัวอันใหญ่
   โตของปลาช่อน ที่เมื่อนำมาแล่แล้วได้จำนวนถึง 8 ริ้ว มากกว่าปลาช่อนในพื้นที่อื่นที่แล่ได้แค่ 4-6 ริ้วเท่านั้น อีกที่มาหนึ่ง เล่าว่าชื่อแปดริ้วได้มาจาก
   นิทานพื้นบ้านเรื่อง “พระรถ-เมรี” ที่ยักษ์ฆ่านางสิบสองแล้วชำแหละศพเป็นชิ้นๆ รวม 8 ริ้ว ก่อนนำไปทิ้งในลำน้ำท่าลาดจังหวัดฉะเชิงเทราแบ่งการปกครองออก
   เป็น 11 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา อำเภอบางคล้า อำเภอบางน้ำเปรี้ยว อำเภอบางปะกง อำเภอบ้านโพธิ์ อำเภอพนมสารคาม อำเภอสนามชัยเขต
   อำเภอแปลงยาว อำเภอราชสาส์น อำเภอท่าตะเกียบ และอำเภอคลองเขื่อน
     
อัพเดท!!! ที่เที่ยว ร้านอาหาร โรงแรม รีสอร์ท ทั่วไทย
เชียงราย
เชียงใหม่
ลำปาง
ลำพูน
แม่ฮ่องสอน
นครสวรรค์
น่าน 
พะเยา
เพชรบูรณ์
พิจิตร
พิษณุโลก
แพร่
สุโขทัย
อุทัยธานี
อุตรดิตถ์
อำนาจเจริญ
บุรีรัมย์
ชัยภูมิ
กาฬสินธุ์
ขอนแก่น
เลย
มหาสารคาม
มุกดาหาร
นครราชสีมา
นครพนม
หนองบัวลำภู
หนองคาย
ร้อยเอ็ด
สกลนคร
ศรีสะเกษ
สุรินทร์
อุบลราชธานี
อุดรธานี
ยโสธร
ฉะเชิงเทรา
ปราจีนบุรี
สระแก้ว
ชลบุรี
ระยอง
จันทบุรี
ตราด
กรุงเทพ ฯ
นนทบุรี
ปทุมธานี
นครนายก
พระนครศรีอยุธยา
ลพบุรี
สระบุรี
สิงห์บุรี
อ่างทอง
ชัยนาท
สมุทรปราการ
สมุทรสาคร
สมุทรสงคราม
นครปฐม
สุพรรณบุรี
ตาก
กาญจนบุรี
ราชบุรี
เพชรบุรี
ประจวบคีรีขันธ์ 
ชุมพร
ระนอง
สุราษฎร์ธานี
พังงา
ภูเก็ต
กระบี่
นครศรีธรรมราช
ตรัง
พัทลุง
สงขลา
สตูล
ปัตตานี
ยะลา
นราธิวาส