กรุงเทพฯ ดุจเทพสร้าง เมืองศูนย์กลางการปกครอง วัดวังงามเรืองรอง เมืองหลวงของประเทศไทย
     
       กรุงเทพฯ หรือ บางกอก เมืองหลวงของประเทศไทย เริ่มก่อตั้งภายหลังจากที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงครอง ราชย์ปราบดาภิเษก
เป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชจักรีวงศ์ เมื่อวันเสาร์ ที่ 6 เมษายน เดือน 5 แรม 9 ค่ำ ปีขาล พ.ศ. 2325 พระองค์ได้โปรดเกล้าฯให้สร้างพระราชวังทางคุ้งแม่น้ำเจ้าพระยา
ฟากตะวันออก เนื่องจากเป็นชัยภูมิที่ดีกว่ากรุงธนบุรีเพราะมีแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นแนวคู เมืองทางด้านตะวันตก และด้านใต้อาณาเขตของกรุงเทพฯ
ในขั้นแรกถือเอาแนวคูเมืองเดิมฝั่งตะวันออกของกรุงธนบุรี คือ แนวคลองหลอด ตั้งแต่ปากคลองตลาดจนออกสู่แม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณสะพานพระปิ่นเกล้า
เป็นบริเวณเกาะรัตนโกสินทร์ มีพื้นที่ประมาณ 1.8 ตารางกิโลเมตรบริเวณที่สร้างพระราชวังนั้นเดิมเป็นที่อยู่อาศัยของพระยาราช เศรษฐี และชาวจีน
ซึ่งได้โปรดเกล้าฯ ให้ย้ายไปอยู่ที่สำเพ็ง ในการก่อสร้างพระราชวังโปรดเกล้าฯ ให้พระยาธรรมาธิบดี กับพระยาวิจิตรนาวีเป็นแม่กองคุมการก่อสร้าง
ได้ตั้งพิธียกเสาหลักเมือง เมื่อวันอาทิตย์ เดือน 6 ขึ้น 10 ค่ำ ย่ำรุ่งแล้ว 54 นาที (21 เมษายน 2325) พระราชวังแล้วเสร็จ เมื่อพ.ศ. 2328 จึงได้จัดให้มีพิธี
บรมราชาภิเษกตามแบบแผน รวมทั้งงานฉลองพระนคร โดยพระราชทานนามพระนครใหม่ว่า “กรุงเทพมหานคร บวรรัตนโกสินทร์ มหินทรายุธยา
มหาดิลกภพ นพรัตน์ราชธานีบุรีรมย์ อุดมราชนิเวศน์มหาสถาน อมรพิมานอวตารสถิต สักกะทัตติยวิษณุกรรมประสิทธิ์” ต่อมาในสมัยพระบาท
สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเปลี่ยนคำว่า “บวรรัตนโกสินทร์” เป็น “อมรรัตนโกสินทร์” และในสมัยจอมพลถนอม กิตติขจร เป็นนายกรัฐมนตรี
ได้รวมจังหวัดธนบุรีเข้าไว้ด้วยกันกับกรุงเทพฯ แล้วเปลี่ยนชื่อเป็น “กรุงเทพมหานคร” เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2515    

      กรุงเทพฯ หรือ บางกอก เมืองหลวงของประเทศไทย เริ่มก่อตั้งภายหลังจากที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงครอง ราชย์ปราบดาภิเษก
เป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชจักรีวงศ์ เมื่อวันเสาร์ ที่ 6 เมษายน เดือน 5 แรม 9 ค่ำ ปีขาล พ.ศ. 2325 พระองค์ได้โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระราชวังทางคุ้งแม่น้ำ
เจ้าพระยาฟากตะวันออก เนื่องจากเป็นชัยภูมิที่ดีกว่ากรุงธนบุรีเพราะมีแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นแนวคู เมืองทางด้านตะวันตก และด้านใต้อาณาเขตของกรุงเทพฯ
ในขั้นแรกถือเอาแนวคูเมืองเดิมฝั่งตะวันออกของกรุงธนบุรี คือ แนวคลองหลอด ตั้งแต่ปากคลองตลาดจนออกสู่แม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณสะพานพระปิ่นเกล้า
เป็นบริเวณเกาะรัตนโกสินทร์ มีพื้นที่ประมาณ 1.8 ตารางกิโลเมตรบริเวณที่สร้างพระราชวังนั้นเดิมเป็นที่อยู่อาศัยของพระยาราช เศรษฐี และชาวจีน
ซึ่งได้โปรดเกล้าฯ ให้ย้ายไปอยู่ที่สำเพ็ง ในการก่อสร้างพระราชวังโปรดเกล้าฯ ให้พระยาธรรมาธิบดี กับพระยาวิจิตรนาวีเป็นแม่กองคุมการก่อสร้าง
ได้ตั้งพิธียกเสาหลักเมือง เมื่อวันอาทิตย์ เดือน 6 ขึ้น 10 ค่ำ ย่ำรุ่งแล้ว 54 นาที (21 เมษายน 2325) พระราชวังแล้วเสร็จ เมื่อพ.ศ. 2328 จึงได้จัดให้มีพิธี
บรมราชาภิเษกตามแบบแผน รวมทั้งงานฉลองพระนคร โดยพระราชทานนามพระนครใหม่ว่า “กรุงเทพมหานคร บวรรัตนโกสินทร์ มหินทรายุธยา มหาดิลกภพ
นพรัตน์ราชธานีบุรีรมย์ อุดมราชนิเวศน์มหาสถาน อมรพิมานอวตารสถิต สักกะทัตติยวิษณุกรรมประสิทธิ์”

       ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเปลี่ยน คำว่า “บวรรัตนโกสินทร์” เป็น “อมรรัตนโกสินทร์” และในสมัยจอมพล
ถนอม กิตติขจร เป็นนายกรัฐมนตรีได้รวมจังหวัด ธนบุรีเข้าไว้ด้วยกันกับกรุงเทพฯ แล้วเปลี่ยนชื่อเป็น “กรุงเทพมหานคร” เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2515

       อาณาเขตทิศเหนือ ติดต่อกับจังหวัดนนทบุรีทิศใต้ ติดต่อกับจังหวัดสมุทรปราการทิศตะวันออก ติดต่อกับจังหวัดฉะเชิงเทราทิศตะวันตก ติดต่อกับจังหวัดนครปฐม

     
เราไปออนทัวร์มาแล้วจ้า...เลยอยากให้คุณไป
เที่ยว (Travel)
     
โปรโมทเว็บไซต์
 
อัพเดท!!! ที่เที่ยว ร้านอาหาร โรงแรม รีสอร์ท ทั่วไทย
เชียงราย
เชียงใหม่
ลำปาง
ลำพูน
แม่ฮ่องสอน
นครสวรรค์
น่าน 
พะเยา
เพชรบูรณ์
พิจิตร
พิษณุโลก
แพร่
สุโขทัย
อุทัยธานี
อุตรดิตถ์
อำนาจเจริญ
บุรีรัมย์
ชัยภูมิ
กาฬสินธุ์
ขอนแก่น
เลย
มหาสารคาม
มุกดาหาร
นครราชสีมา
นครพนม
หนองบัวลำภู
หนองคาย
ร้อยเอ็ด
สกลนคร
ศรีสะเกษ
สุรินทร์
อุบลราชธานี
อุดรธานี
ยโสธร
ฉะเชิงเทรา
ปราจีนบุรี
สระแก้ว
ชลบุรี
ระยอง
จันทบุรี
ตราด
กรุงเทพ ฯ
นนทบุรี
ปทุมธานี
นครนายก
พระนครศรีอยุธยา
ลพบุรี
สระบุรี
สิงห์บุรี
อ่างทอง
ชัยนาท
สมุทรปราการ
สมุทรสาคร
สมุทรสงคราม
นครปฐม
สุพรรณบุรี
ตาก
กาญจนบุรี
ราชบุรี
เพชรบุรี
ประจวบคีรีขันธ์ 
ชุมพร
ระนอง
สุราษฎร์ธานี
พังงา
ภูเก็ต
กระบี่
นครศรีธรรมราช
ตรัง
พัทลุง
สงขลา
สตูล
ปัตตานี
ยะลา
นราธิวาส